วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

COP ภัยพิบัติทางธรรมชาติ


เป้าหมาย(Desired State) มีการแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับภัยพิบัติทางธรรมชาติเพื่อให้มีการเข้าใจและร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นและเกิดระบบเครือข่ายการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติ
ประเด็นสำคัญ(Context) วิธีการรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ
คำสำคัญ (Key word): ภัยธรรมชาติ,ภัยพิบัติ
ประเด็น/หลักการสำคัญ
Critical Issues
เรื่องเล่า/ตัวอย่างประสบการณ์
Story Telling/Experience Sharing
แหล่งข้อมูล/บุคคล
Source/Person
การให้ข้อมูลเกี่ยวกับภัยธรรมชาติ
       ภัยธรรมชาติ นั้นเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ หรือมนุษย์ได้ทำให้มันเกิดขึ้นมา ภัยธรรมชาติมีหลายรูปแบบแตกต่างกันไปบางอย่างร้ายแรงน้อย บางอย่างร้ายแรงมากซึ่งอาจทำให้เกิดผลเสียต่อชีวิตและทรัพย์สิน เช่น การเกิดอุทกภัยหรือน้ำท่วม การเกิดพายุ การเกิดแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด เป็นต้น ซึ่งภัยธรรมชาติต่างๆไม่ว่าจะร้ายแรงมากหรือน้อยก็เกิดขึ้นได้ทุกเวลาโดยที่มนุษย์ไม่ได้ตั้งตัว แบ่งเป็น 8 ประเภท
วาตภัย  อุทกภัย  ทุกขภิกขภัย  พายุฝนฟ้าคะนอง  คลื่นพายุซัดฝั่ง  แผ่นดินไหว  แผ่นดินถล่ม  ไฟป่า
จิราภรณ์  สุภาพ
การให้ข้อมูลเรื่องวาตภัย
       1.วาตภัย ภัยธรรมชาติซึ่งเกิดจาก พายุลมแรง แบ่งได้ 2 ชนิด
1.1 วาตภัยจากพายุฤดูร้อน จะเกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อน เกิดจากกระแสอากาศร้อนยกขึ้นเบื้องบนอย่างรุนแรง และรวดเร็ว เกิดพายุฝนฟ้าคะนองและอาจมีลูกเห็บทำความเสียหาย ได้ในบริเวณเล็กๆ ช่วงเวลาสั้นๆ ความเร็วลมประมาณ 50 กม./ชม. ทำให้สิ่งก่อสร้าง บ้านเรือน พืชผลทางการเกษตรเสียหาย ฝนตกหนัก ฟ้าแลบ ฟ้าผ่า เป็นอันตรายแก่ชีวิตมนุษย์และสัตว์ได้
1.2 วาตภัยจากพายุฤดูหมุนเขตร้อน จะเกิดขึ้นในช่วงฤดูฝน เป็นพายุที่เกิดขึ้นเหนือทะเลจีนใต้ และมหาสมุทรแปซิฟิกในเขตร้อน มีศูนย์กลางประมาณ 200 กม. มีลมพัดเวียนรอบศูนย์กลางทิศทวนเข็มนาฬิกา ศูนย์กลางเป็นวงกลมประมาณ 15-60 กม. เรียกตาพายุ มองเห็นได้จากภาพเมฆดาวเทียม เมื่อเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามทำความเสียหายให้บริเวณที่เคลื่อนผ่าน ตามลำดับความรุนแรง
ธนิก  เทพกิจ
การให้ข้อมูลเรื่องอุทกภัย
        2. อุทกภัย ภัยที่เกิดขึ้นเนื่องจากมีน้ำเป็นสาเหตุ อาจจะเป็นน้ำท่วม น้ำป่า หรืออื่น ๆ โดยปกติ อุทกภัยเกิดจากฝนตกหนักต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน บางครั้งทำให้เกิดแผ่นดินถล่ม อาจมีสาเหตุจากพายุ หมุนเขตร้อน ลมมรสุมมีกำลังแรง ร่องความกดอากาศต่ำมีกำลังแรง อากาศแปรปรวน น้ำทะเลหนุน แผ่นดินไหว เขื่อนพัง ทำให้เกิดอุทกภัยได้เสมอ แบ่งได้ 2 ชนิด

1.1 อุทกภัยจากน้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมฉับพลัน เกิดจากฝนตกหนักติดต่อกันหลายชั่วโมง ดินดูดซับไม่ทัน น้ำฝนไหลลงพื้นราบอย่างรวดเร็ว ความแรงของน้ำทำลายต้นไม้ อาคาร ถนน สะพาน ชีวิต ทรัพย์สิน

1.2 อุทกภัยจากน้ำท่วมขังและน้ำเอ่อนอง เกิดจากน้ำในแม่น้ำ ลำธารล้นตลิ่ง มีระดับสูงจากปกติ ท่วมและแช่ขัง ทำให้การคมนาคมชะงัก เกิดโรคระบาด ทำลายสาธารณูปโภค และพืชผลการเกษตร
อัจฉรา  ศรีเพชร
การให้ข้อมูลเรื่องทุกขภิกขภัย ,พายุฝนฟ้าคะนอง,คลื่นพายุซัดฝั่ง
      3.ทุกขภิกขภัย  ภัยธรรมชาติซึ่งเกิดจาก ฝนแล้ง ไม่ตกตามฤดูกาล มีสาเหตุจาก พายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนผ่านประเทศไทยน้อย ร่องความกดอากาศต่ำมีกำลังอ่อน มรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังอ่อน เกิดสภาวะฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน หรือเกิดปรากฏการณ์เอลนิโญรุนแรง ทำให้ฝนน้อยกว่าปกติ ทำให้ผลผลิตการเกษตรเสียหาย ขาดน้ำ เหี่ยวเฉา แห้งตายในที่สุด โรคพืชระบาด คุณภาพด้อยลง อุตสาหกรรมเกษตรเสียหาย ขาดแคลนอุปโภค บริโภค กระทบกับการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ
      4.พายุฝนฟ้าคะนอง ภัยธรรมชาติซึ่งเกิดจากฝนฟ้าคะนอง และลมแรง อากาศร้อนลอยสูงขึ้น อากาศข้างเคียงไหลเข้ามาแทนที่ ไอน้ำกลั่นตัวเป็นเมฆ ทวีความสูงมากขึ้น มองเห็นคล้ายทั่งตีเหล็กสีเทาเข้ม มีฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง บางครั้งมีลูกเห็บ หากตกต่อเนื่องหลายชั่วโมง อาจเกิดน้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมฉับพลัน อาจ เกิดพายุลมหมุนหรือ พายุงวงช้างมีลมแรงมาก ทำความเสียหายบริเวณที่เคลื่อนผ่าน
        5.คลื่นพายุซัดฝั่ง ภัยธรรมชาติซึ่งเกิดจากพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนที่เข้าหาฝั่ง ความสูงของคลื่นขึ้นกับความแรงของพายุ
กิตติกร  ชัยชนะ
การให้ข้อมูลเรื่องแผ่นดินไหว,แผ่นดินถล่ม,ไฟป่า
        6.แผ่นดินไหว ภัยธรรมชาติซึ่งเกิดจากการปลดปล่อยพลังงานใต้พิภพ ทำให้เกิดภูเขาไฟระเบิด แผ่นดินเลื่อน ถล่ม และเกิดจากมนุษย์ เช่นระเบิดนิวเคลียร์ ภาคเหนือส่วนมากจะเกิดแผ่นดินไหวขนาด 3-4 ริกเตอร์ และเคยเกิดขนาดใหญ่สุดที่บันทึกได้ 5.6 ริกเตอร์ ที่ อ.ท่าสองยาง จ.ตาก วันที่ 17 ก.พ.2518
      7.แผ่นดินถล่ม การเกิดดินถล่ม เป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ป้องกันได้ยากแต่เราก็สามารถลดปัจจัยความเสี่ยงได้ ถ้าเรามีการเตรียมพร้อมเฝ้าระวังที่ดีแล้ว จะลดความเสียหายได้แน่นอน
      8.ไฟป่า ภัยธรรมชาติซึ่งเกิดจากมนุษย์เป็นส่วนมาก ได้แก่การเผาหาของป่า เผาทำไร่เลื่อนลอย เผากำจัดวัชพืช ส่วนน้อยที่เกิดจากการเสียดสีของต้นไม้แห้ง ปลายเดือนกุมภาพันธ์-ต้นพฤษภาคม ทำให้เกิดมลพิษในอากาศมากขึ้น ผงฝุ่น ควันไฟกระจายในอากาศทั่วไป ไม่สามารถลอยขึ้นเบื้องบนได้ มองเห็นไม่จัดเจน สุขภาพเสื่อม พืชผลการเกษตรด้อยคุณภาพ แหล่งทรัพยากรลดลง
อัจจิมา  รักษาแก้ว
การให้ข้อมูลเรื่องผลกระทบของภัยพิบัติทางธรรมชาติ
      ซึ่งผลกระทบที่เกิดนั้น ภัยธรรมชาติทุกชนิดนั้นได้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ก่อให้เกิดความเสียหารยต่างๆ ทั้งทรัพย์สิน ชีวิต และ จิตใจ  ทุกวันนี้ภัยธรรมชาติได้ทวีความรุ่นแรงมากขึ้นซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ ประเทศไทยก็ต้องเผชิญกับมหาอุทกกภัยครั้งยิ่งใหญ่ที่ทำให้ผู้คนได้รับผลกระทบกันเป็นจำนวนมาก บ้างก็สูญเสียทรัพย์สิน เช่น บ้านที่พังเสียหาย เครื่องใช้ภายในบ้านที่จมไปกับน้ำและไม่สามารถกลับมาใช้ได้อีก  แต่บางครอบครัวก็สูญเสียคนที่รักไป และสภาพจิตใจของทุกคนก็ไม่ได้กลับมาดีเหมือนเดิม ทุกวันนี้ทุกคนต่างหวาดกลัวกับภัยธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพราะเราไม่สามารถคาดเดาได้เลยว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไร และจะทวีความรุนแรงแค่ไหน ซึ่งสิ่งที่เราน่าจะทำได้นั้นคือ ช่วยกันดูแลและฟื้นฟูธรรมชาติให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ดังเดิม
จิราภรณ์   สุภาพ
การให้ข้อมูลเรื่องแนวทางการแก้ไขการป้องกันพายุฤดูร้อน
1. วาตภัย
แนวทางการแก้ไขการป้องกันพายุฤดูร้อน
* ติดตามสภาวะอากาศ ฟังคำเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยา
* ติดตั้งสายล่อฟ้าสำหรับอาคารสูงๆ
* ปลูกสร้าง ซ่อมแซม อาคารให้แข็งแรง เตรียมป้องกันภัยให้สัตว์เลี้ยงและพืชผลการเกษตร
* ไม่ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด ขณะมีฟ้าคะนอง
* ไม่ใส่เครื่องประดับโลหะ และอยู่กลางแจ้ง ขณะมีฝนฟ้าคะนอง                                                                                                  แนวทางการแก้ไขการป้องกันพายุหมุนเขตร้อน
* ติดตามสภาวะอากาศ ฟังคำเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยา
* ฝึกซ้อมการป้องกันภัยพิบัติ เตรียมพร้อมรับมือ และวางแผนอพยพหากจำเป็น
* เตรียมเครื่องอุปโภค บริโภค ไฟฉาย แบตเตอรี่ วิทยุกระเป๋าหิ้วติดตามข่าวสาร
* ซ่อมแซมอาคารให้แข็งแรง เตรียมป้องกันภัยให้สัตว์เลี้ยงและพืชผลการเกษตร
* เตรียมพร้อมอพยพเมื่อได้รับแจ้งให้อพยพ
ธนิก  เทพกิจ
การให้ข้อมูลเรื่องแนวทางการแก้ไขการป้องกันอุทกภัย,แนวทางการแก้ไขการป้องกันทุกขภิกขภัย
2. อุทกภัย
แนวทางการแก้ไขการป้องกันอุทกภัย
* ติดตามสภาวะอากาศ ฟังคำเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยา
* ฝึกซ้อมการป้องกันภัยพิบัติ เตรียมพร้อมรับมือ และวางแผนอพยพหากจำเป็น
* เตรียมน้ำดื่ม เครื่องอุปโภค บริโภค ไฟฉาย แบตเตอรี่ วิทยุกระเป๋าหิ้วติดตามข่าวสาร
* ซ่อมแซมอาคารให้แข็งแรง เตรียมป้องกันภัยให้สัตว์เลี้ยงและพืชผลการเกษตร
* เตรียมพร้อมเสมอเมื่อได้รับแจ้งให้อพยพไปที่สูง เมื่ออยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย และฝนตกหนักต่อเนื่อง
* ไม่ลงเล่นน้ำ ไม่ขับรถผ่านน้ำหลากแม้อยู่บนถนน ถ้าอยู่ใกล้น้ำ เตรียมเรือเพื่อการคมนาคม
* หากอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมขัง ป้องกันโรคราด ระวังเรื่องน้ำและอาหาร ต้องสุก และสะอาดก่อนบริโภค

3.ทุกขภิกขภัย
แนวทางการแก้ไขการป้องกันทุกขภิกขภัย
* ติดตามสภาวะอากาศ ฟังคำเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยา
* ฝึกซ้อมการป้องกันภัยพิบัติ เตรียมพร้อมรับมือ และวางแผนอพยพหากจำเป็น
อัจฉรา   ศรีเพชร
การให้ข้อมูลเรื่องแนว  ทางการแก้ไขการป้องกันพายุฝนฟ้าคะนอง  ,            แนวทางการแก้ไขการป้องกันคลื่นพายุซัดฝั่ง,ทางการแก้ไขการป้องกันแผ่นดินไหว
4.การป้องกันพายุฝนฟ้าคะนอง
แนวทางการแก้ไขการป้องกันพายุฝนฟ้าคะนอง
* ติดตามสภาวะอากาศ ฟังคำเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยา
* ติดตั้งสายล่อฟ้าสำหรับอาคารสูงๆ
* ปลูกสร้าง ซ่อมแซม อาคารให้แข็งแรง เตรียมป้องกันภัยให้สัตว์เลี้ยงและพืชผลการเกษตร
* ไม่ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด ขณะมีฟ้าคะนอง
* ไม่ใส่เครื่องประดับโลหะ และอยู่กลางแจ้ง ขณะมีฝนฟ้าคะนอง
5.คลื่นพายุซัดฝั่ง
แนวทางการแก้ไขการป้องกันคลื่นพายุซัดฝั่ง
- ไม่ควรปลูกบ้าน หรือ สิ่งปลูกสร้างทุกชนิดใกล้ชายฝั่งทะเลจนเกินไป
- ถ้าปลูกบ้านหรือสิ่งปลูกสร้างใกล้ชายฝั่งควรมั่วตรวจสอบปริมาณดินที่อยู่ใกล้บริเวณบ้านหรือสิ่งปลูกสร้างว่ามีปริมาณน้อยลงหรือไม่ ถ้ามีปริมาณน้อยลงให้หวิธีแก้ไขอย่าปล่อยทิ้งไว้
- ในกรณีที่บ้านติดชายฝั่งทะเลมาก ควรหาดินมาเทบริเวณรอบบ้านเพิ่มเติมหรือ อาจจะทำเป็นกำแพงปูนป้องกันการกัดเซาะของน้ำทะล
6.แผ่นดินไหว
แนวทางการแก้ไขการป้องกันแผ่นดินไหว
-               ติดตามสภาวะอากาศ ฟังคำเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยา
-               หากบ้านหรือสิ่งปลูกสร้างที่เป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นไหว หรือรอยเลือนควรมีการสักซ้อมการเกิดเหตุแผ่นดินไหวเกิดขึ้น
กิตติกร  ชัยชนะ
การให้ข้อมูลเรื่องแนวทางการแก้ไขการป้องกันแผ่นดินถล่ม,แนวทางการแก้ไขการป้องกันไฟป่า
7. แผ่นดินถล่ม
แนวทางการแก้ไขการป้องกันแผ่นดินถล่ม
- อย่าปลูกบ้านหรือสิ่งก่อสร้างขวางทางน้ำหรือใกล้ลำห้วยมากเกินไป
- ช่วยกันร่วมมือร่วมแรงอย่าตัดไม้ทำลายป่า
- ปลูกต้นไม้เพิ่มไว้ช่วยซับน้ำ
- ช่วยกันปลูกป่าบริเวณที่ถูกทำลายและป้องกันไม่ให้ตัดไม้ทำลายป่าซึ่งทุก ๆ คนต้องมีส่วนร่วมในการดูแลและเฝ้าระวัง
- จัดเวรยามเพื่อเดินตรวจตาดูสถานการณ์รอบ ๆ หมู่บ้านเมื่อมีสิ่งผิดปกติยามค่ำคืน
- ติดตามฟังข่าวพยากรณ์อากาศ เพื่อทราบสภาพสถานีการณ์ของภาวะฝนตกหนักหรือน้ำป่าไหลหลาก

8.ไฟป่า
แนวทางการแก้ไขการป้องกันไฟป่า
* ติดตามสภาวะอากาศ ฟังคำเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยา
* ดับไฟ บุหรี่ ธูป เทียน กองไฟให้ความอบอุ่น ทุกครั้ง ในบ้านหรือกลางแจ้ง
* ตัดแต่งกิ่งไม้ ให้ห่างจากเสาไฟฟ้า หมั่นตรวจสอบคุณภาพอุปกรณ์ฟ้า
* ติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิงฉุกเฉินประจำอาคาร
* เก็บวัสดุ อุปกรณ์ไวไฟ สารเคมี ให้อยู่ในที่ปลอดภัย
* ซักซ้อม วางแผนหนีไฟ และเตรียมพร้อมเสมอ
อัจจิมา   รักษาแก้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น