วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

คำศัพท์ KM


1. Action  Learning  (การเรียนรู้โดยการปฏิบัติ)
         หมายถึง การเรียนรู้จากการปฏิบัติ หมายถึง การเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติที่แต่ละบุคคลเรียนรู้ร่วมกันในการวิเคราะห์ปัญหาผ่านกระบวนการของการเรียนรู้และการสะท้อนกลับอย่างต่อเนื่อง โดยการทำงานบนปัญหาจริง และสะท้อนกลับบนประสบการณ์ของตนเอง เสนอแนวทางการแก้ปัญหา และนำแนวทางการแก้ปัญหาที่ผ่านการพิจารณาแล้วไปปฏิบัติ(ที่มา : ns.mahidol.ac.th)
2. Analyzing  Mistakes (การวิเคราะห์ข้อผิดพลาด)
         หมายถึง การทำให้ผู้เรียนสามารถชี้ว่าข้อผิดพลาดของตนหรือของผู้อื่นเกิดขึ้นเพราะสิ่งใด (ที่มา : ipst.ac.th)
3. Brainstorming (การระดมสมอง)

         หมายถึง เป็นกระบวนการที่มีแบบแผนที่ใช้เพื่อรวบรวมความคิดเห็น ปัญหา หรือข้อเสนอแนะจำนวนมากในเวลาที่รวดเร็ว เป็นวิธีการที่ดีในการกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ และเกิดการมีส่วนร่วมของกลุ่มมากที่สุด การระดมสมองมุ่งเน้นที่จำนวนความคิด ไม่ใช่คุณภาพ (ที่มา : www.prachasan.com)
4. Coaching (การสอนงาน)
         หมายถึง การที่คนๆหนึ่ง ช่วยให้ใครก็ตามพัฒนาขีดความสามารถในการทำงาน การสอนงานไม่ได้หมายถึงสาระของการสอนหรือบอกถึงวิธีการทำงานเท่านั้น แต่หมายรวมถึงการช่วยเหลือ การให้คำแนะนำ การให้กำลังใจ และให้โอกาสในการทำสิ่งต่างๆ ให้ดีขึ้น (ที่มา : diw.go.th)
5. Computer-Mediated Communications (CMC) (การสื่อสารผ่านคอมพิวเตอร์)
         หมายถึง การสื่อสารที่มีคอมพิวเตอร์เป็นช่องทางในการส่งผ่านข้อมูลระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร ซึ่งสามารถตอบรับได้ทันที (ที่มา : cosci.swu.ac.th)
6. External  Consultants (การมีทีี่ปรึกษาภายนอกองค์การ)
         หมายถึง บุคคลที่มาจากภายนอกองค์การ ถูกคัดเลือกขึ้นเพื่อทำหน้าที่ในการคิด วางระบบงานให้แหมาะสมกับวัฒนธรรมองค์การแต่ละแห่งที่ไม่เหมือนกัน เป็นกลุ่มคนที่จะต้องติดต่อกับผู้บริหารระดับสูงขององค์การ เพื่อนำเสนอและสรุปผลการดำเนินงาน (ที่มา : www.peoplevalue.co.th)
7. Learning  Contracts (สัญญาการเรียนรู้)
        หมายถึง ข้อตกลงร่วมกันระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน เพื่อการเรียนรู้ เรื่องใดเรื่องหนึ่ง (ที่มา : wiki.edu.chula.ac.th)
8. Mentoring(พี่เลี้ยง)
        หมายถึง กระบวนการเรียนรู้เพื่อช่วยให้บุคคลคนหนึ่งสามารถเพิ่มพูนความรู้ เสริมสร้างความเข้าใจ ในแนวทางการดำรงชีวิต และหนทางแห่งความสำเร็จในองค์กรใดองค์กรหนึ่งหรือสังคมใดสังคมหนึ่ง โดยอาศัยการปลูกฝัง ถ่ายทอดจากคนหนึ่งซึ่งทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง (mentor) ไปสู่อีกคนหนึ่งซึ่งทำหน้าที่เป็นน้องเลี้ยง (mentee) (ที่มา : http://www.vrhris.com/klc/Article/HR/Manager/Mentoring.htm)
9. Networking (การสร้างเครือข่าย)
        หมายถึง การที่คนเรารู้จักบุคคล จากหลากหลายวงการ นอกจากเครือญาติ หรือเพื่อนฝูงความสัมพันธ์ที่ดี จะนำไปสู่ความสัมพันธ์ที่ดี ยิ่งขึ้นเรื่อยๆ กลายเป็นพันธมิตร ที่ก่อให้เกิดกำไรสูงสุด มีการทำงานร่วมกัน และแชร์ผลประโยชน์ร่วมกัน (ที่มา : www.novabizz.com)
10. Portfolios (แฟ้มสะสมผลงาน)
         หมายถึง แหล่งรวมข้อมูลที่จัดทำขึ้นอย่างเป็นระบบ โดยข้อมูลดังกล่าว จะนำมาใช้ในการวิเคราะห์สำหรับประเมินผลการทำงาน เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการทำงานให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นต่อไป (ที่มา : www.budmgt.com )
11. Project work (งานโครงการ)
         หมายถึง ภาระงานที่ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าตามหัวข้อที่ผู้เรียนสนใจ (ที่มา : www.banmi.ac.th)
12. Rotating jobs (การหมุนเวียนการทำงาน)
         หมายถึง เพื่อให้บุคคลมีโอกาสเรียนรู้ในงานที่หลากหลาย และสลับกันทำงาน (ที่มา : www.kmutnb-journal.net)
13. Team working (การทำงานเป็นทีม)
         หมายถึง กลุ่มบุคคลที่ร่วมกันทางานให้สาเร็จ ซึ่งตั้งขึ้นเพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นในองค์กรหรือสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่องค์การเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว  (ที่มา : www.sisat.ac.th)
14. Knowledge strategy
การวางแผนกลยุทธ์ทางด้านองค์ความรู้ (Knowledge Strategy) การวางแผนจัดการด้านองค์ความรู้และการใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้นั้น ไม่ต่างจากการวางแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจ (Business Strategy) กล่าวคือ ผู้บริหารองค์กรและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องจะต้องทราบให้แน่ชัดว่ากำลังจะนำศาสตร์ด้าน KM มาใช้เพื่อสร้างประโยชน์ในลักษณะใดต่อองค์กร โดยจะต้องทราบอย่างแน่ชัดว่าจะใช้งานและบริหารจัดการองค์ความรู้เหล่านั้นในลักษณะใดโดยให้อยู่บนพื้นฐานที่ว่าการลงทุนที่เกิดขึ้นกับระบบ KM ต้องสร้างประโยชน์สูงสุดต่อองค์กรของตน ในหลาย ๆ ประเทศ รวมถึงประเทศไทย หากจะเริ่มต้นวางแผนออกแบบกลยุทธ์การจัดการองค์ความรู้ให้เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ ก็อาจจะต้องว่าจ้างบริษัทผู้เชี่ยวชาญในการศึกษาเพื่อออกแบบระบบที่มีความสอดคล้องกับการกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ นอกนั้นจะต้องตระหนักว่า แม้จะมีการออกแบบกลยุทธ์ในการจัดการองค์ความรู้ไปแล้ว กลยุทธ์ดังกล่าวก็ควรจะได้รับการตรวจสอบอยู่เป็นประจำว่ายังมีประสิทธิภาพและเข้ากันได้กับกลยุทธ์ทางธุรกิจซึ่งอาจมีการปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์การแข่งขันอยู่เสมอ
15.Knowledge sharing
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Sharing) คือ การที่กลุ่มคนที่มีความสนใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งร่วมกัน  มารวมตัวกันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้วยความสมัครใจ เพื่อร่วมสร้างความเข้าใจหรือพัฒนาแนวปฏิบัติในเรื่องนั้นๆ                                                                                                                                                    องค์ประกอบหลักที่สำคัญๆ ของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Sharing) มีอยู่ด้วยกัน 3 องค์ประกอบ ได้แก่
1.คน (People) – ถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นแหล่งศูนย์รวมของความรู้ที่สมควรนำออกมาแบ่งปันเป็นอย่างยิ่ง โดยก็ควรจะเป็นคนที่มีความรู้จากการปฏิบัติจริง และอยากจะมาแบ่งปันและแลกเปลี่ยนความรู้นั้น ด้วยความเต็มใจ
2.สถานที่ และบรรยากาศ  (Place) – เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่จะทำให้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้มีชีวิตชีวาและน่าสนใจ เพราะสถานที่และบรรยากาศที่ดี (สบายๆผ่อนคลาย) มีความเหมาะสมกับแต่ละกลุ่มคน จะทำให้คนเหล่านั้นมาเจอกันพูดคุย ปรึกษา วิเคราะห์ปัญหา  แบ่งปัน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันอย่างสบายใจ
3.สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ (Infrastructure) - เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่ช่วยให้การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกิดได้ง่ายและสะดวกขึ้น เช่น กระดานสำหรับเขียน คอมพิวเตอร์สำหรับการสรุปและจัดเก็บความรู้รวมถึงการแบ่งปัน (Share)หรือการส่งต่อข้อมูล
ที่มา http://uknow-it.blogspot.com/2011/01/blog-post_08.html
16.          Knowledge workers 
คนทำงานที่มีภูมิรู้ "Knowledge Worker"
ในการบริหารทุนมนุษย์ในปัจจุบันมีความจำเป็นที่จะต้องเข้าใจในความหมายของคำว่า "คนทำงานที่มีภูมิรู้" ซึ่ง ปีเตอร์ ดรักเกอร์ เป็นบุคคลแรกที่พูดถึงเรื่องนี้
และในวาระที่ครบอายุ 84 ปี ( เกิด 19 พย. 1909 ) ได้ให้สัมภาษณ์ นิตยสาร Fortune ฉบับ มค. 47 ( Jan 2004 ) ลองหามาอ่านดูได้ครับ
สรุปย่อ ๆ คือ คนที่สามารถสร้างความรู้ได้ด้วยตัวเอง ซึ่งมักจะเป็นองค์กรที่เป็นด้านวิทยาศาสตร์ องค์กรที่มีคนคิดนวัตกรรมเยอะ ๆๆ ( ไม่ใช่คิดสร้างสรรค์นะครับ -คนละเรื่องเดียวกัน) องค์กรที่พนักงานกำหนดได้ว่าตนเองจะรับผิดชอบและทำงานอะไรที่มีคุณค่ากับองค์กร
แต่ที่องค์กรไทยเข้าใจบางส่วนคือคิดว่า เป็นเรื่อง Talent Management คือหาคนเก่ง ๆ มาทำงาน สร้างไห้เป็นดาวเด่น ดาวค้างฟ้า ผมคงต้องอธิบายในภายหลัง เพราะ เป็นเรื่องการสร้างทายาทธุรกิจ ครับ ส่วนที่เข้าใจกันนั้นเเป็นผลพลอยได้)
นับตั้งแต่ปี '47 เป็นต้นมาผมได้ฉีกแนวคิดนำเสนอข้อเขียนและหนังสือทางด้าน HR (Human Resource ) ในแนวทางใหม่คือการอธิบายถึง "กลยุทธการบริหารทุนมนุษย์ " หลายท่านอาจจะได้มีโอกาสอ่านบ้างแล้วใน หนังสือ ธุรกิจของ HR(2) พลวัตการบริหารคน ซึ่งได้มีการอธิบายไว้แล้ว แต่ในหนังสือเล่มใหม่ที่กำลังพิมพิ์ อยู่ในขณะนี้ได้เปิดมิติใหม่ของ"กลยุทธการบริหารทุนมนุษย์ " ชื่อว่า "การพัฒนามูลค่าทุนมนุษย์" กลับมาที่กลยุทธการบริหารทุนมนุษย์ จะอธิบายในเรื่อง
 -การเชื่อมโยงกลยุทธธุรกิจกับกลยุทธ HR
-การจัดการคนเก่ง (TMS: Talent Management System)
-การจัดการความรู้ (KM) และทุนทางปัญญา " Intellectual Capital "
-การพัฒนาผู้นำรุ่นใหม่
-การสร้างวัฒนธรรมที่เน้นผลงาน
-การบริหาร ERs แบบใหม่
หากธุรกิจต้องการประสบความสำเร็จจาก "คนทำงานที่มีภูมิรู้ " จำเป็นจะต้องปรับเปลี่ยนงาน HR ไปเป็นการบริหารทุนมนุษย์ในเชิงกลยุทธ ( Strategic Human Capital Management )
การบริหารลักษณะนี้จะมีอะไรซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่สุด คำตอบคือ
1) ในทัศนะของผมจำเป็นจะต้องกำหนด โมเดลSHCM : Strategic Human Capital Management Model ขึ้นมาในลักษณะที่เชื่อมโยงกับภารกิจขององค์กร โดยอยู่บนเงื่อนไขว่าองค์กรนั้น ๆ จะออกแบบให้เป็นองค์กรแบบแบนราบ หรือองค์กรที่มุ่งการตลาด หรือ การกำหนดองค์กรในลักษณะขององค์กรที่มุ่งกลยุทธ
2) ต้องมีการจัดวาง Platform ด้านHR ใหม่ที่เน้นด้วย " Competency Based Management " หรือ ใช้ Competency Application เป็นหัวใจสำคัญ
3) การบริหาร HR หรือการบริหารคนแนวนี้ จะปรับงาน บริหารคนเป็นลักษณะของ Strategic Capabilities Unit คือ การทำงานด้านคน ในเรื่อง (1) การบริการลูกค้าและพนักงาน (2) ที่ปรึกษาด้านสมรรถภาพ(Capabilities) องค์กร (3) จินตวิศวกรความรู้ (4) การปรับความพร้อมในการเปลี่ยนแปลง ซึ่งทั้งหมดนี้จะอาศัยสิ่งที่เรียกว่าทุนทางปัญญาเป็นสิ่งขับเคลื่อน
ที่มา : http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=dnt&month=23-01-2008&group=34&gblog=17
17.Leverage of knowledge asset
Leverage of knowledge assetKnowledge asset  คือ ความรู้ที่สร้างขึ้นมาได้จาก SECI  ( SECI คือกระบวนการสร้างความรู้ ) Knowledge asset  แบ่งเป็น 4 แบบ
  1.  Experimental - ความรู้แบบ tacit ที่เกิดจากประสบการณ์ในการทำงาน และสายสัมพันธ์ระหว่างพนักงาน ลูกค้า คู่ค้า ฯลฯ ได้แก่: ทักษะในการทำงานของแต่ละคน, ความรักในการทำงาน, passion
  2.  Conceptual - ความรู้แบบ explicit ที่แสดงออกผ่านภาพลักษณ์ สัญลักษณ์ และภาษา ได้แก่: คอนเซปต์ผลิตภัณฑ์, ดีไซน์, แบรนด์
  3.  Routine - ความรู้แบบ tacit ที่วนๆ เป็นรูทีนอยู่ในองค์กร เช่น ทักษะในการทำงานของทีม วิธีหรือขั้นตอนการทำงานในองค์กร วัฒนธรรมองค์กร
  4.  Systemic - ความรู้ explicit ที่จัดทำเป็นแพกเกจ เช่น เอกสาร คู่มือ สเปก database สิทธิบัตร

   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น